ปัญหา‘ยาเสพติด’นับเป็นปัญหาสาธารณะที่แต่ละประเทศจให้ความสำคัญ และยังส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อสังคม บนฐานความคิดที่ว่า ยาเสพติดเป็นจุดเริ่มต้นของอาชญากรรมหรือก่ออันตรายต่อสังคมด้านต่าง ๆ รวมถึงเป็นสิ่งที่ขัดขวางการพัฒนาศักยภาพประชากรในประเทศอย่างไรก็ดี การใช้ยาเสพติดนั้นมีสาเหตุความจำเป็นที่หลากหลายเช่น ผู้จำเป็นต้องใช้ยาเสพติดเพื่อการรักษา
ทำให้ปัจจุบันมีความพยายามเปลี่ยนมุมมองต่อผู้ใช้ยาเสพติดค่อยเปลี่ยนไปสู่การมองว่าผู้ติดยาเสพติดเป็น“ผู้ป่วย”ที่ต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา เยียวยา มากกว่าเป็น “ผู้ร้าย”ของสังคม
แก้ปัญหายาเสพติดด้วยแนวคิด ‘ลดความรุนแรง'
ตัวอย่างเช่นชุมชน ‘กองขยะหนองแขม’ ที่มีประธานชุมชน ‘บู้’ – บรรจง แซ่อึ๊งพยามจัดการปัญหายาเสพติดด้วยวิธีการภายใต้แนวคิด ‘ลดความรุนแรงจากยาเสพติด (Harm Reduction)’ ที่เชื่อว่าเราไม่สามารถกำจัดยาเสพติดให้หมดไปจากโลกใบนี้ได้ แต่เราสามารถควบคุมและจำกัดผลกระทบของมันได้ เช่น ลดอัตราโอเวอร์โดสของผู้ใช้ยา หรือลดคดีอาญาอื่นๆ ที่อาจเกิดตามมาจากการใช้ยาเสพติด
“เราเข้าใจปัญหายาเสพติด และเข้าใจคนติดยาว่าเลิกไม่ได้เราถึงทำสิ่งนี้ ซึ่งสิ่งที่เราทำคือการสร้างการเรียนรู้ให้เราสามารถอยู่ร่วมกันได้กับผู้ใช้ยา หน้าที่ช่วยเหลือให้คำปรึกษาต่างๆ พ่อแม่ ที่มีลูกติดยา เพื่อให้มีคนเป็นเพื่อนเขา ไม่โดดเดี่ยว แม้จะมีการติดยาซ้ำ ในหลายๆ เคส ก็ยังจะให้โอกาสผู้ใช้ยาทุกๆครั้ง จนกว่าเขาจะเลิกได้ และอีกอย่างเราอยู่ในความทรงจำดีๆ เขามีความรู้สึกที่ดีกับเราและไว้ใจเราเป็นมิตรที่ดีกับเราในหลายๆ กรณี อย่างตำรวจคาดหวังต้องปลอดยาเสพติด 100% ซึ่งความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้”
ในสายตาคนส่วนใหญ่ เวลาจะทำบุญทำทาน จะทำได้กับทุกสิ่ง แต่ก้บผู้ติดยานี้ทำใจไม่ได้และคิดว่าไม่ได้อะไร เสียเงินฟรี เคยช่วยไปแล้วก็ยังกลับมาติดเหมือนเดิมจึงทำให้หมดใจในการทำบุญ วัดวาอารามได้เงินทำบุญใหญ่โตแต่สุดท้ายก็สูญสลายไป แต่ถ้าทำบุญกับคนถึงวันเขาเลิกได้ เขาไม่สูญเสียชีวิตไปกับยาเสพติด กลับมาอยู่ในสังคมมันจะได้การแก้ปัญหายาเสพติดที่แท้จริงและยั่งยืน และที่สำคัญสังคมยังไม่เข้าใจปัญหายาเสพติด เอ๊ะ!! ทำไมเลิกไม่ได้ ทำไมจิตใจไม่เข้มแข็ง? ซึ่งจริงๆ แล้วคนติดยาที่เลิกไม่ได้มันมีสิ่งเร้ากระตุ้นในสภาพสิ่งแวดล้อมหรือสังคม เราต้องร่วมกันดูแลเขาไม่ประณามเขา เราต้องน้อมรับความผิดพลาดเช่นพาเขาไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่มียาเสพติด แลเะเราต้องเข้าใจเขาเชื่อใจกันให้โอกาสเขาซ้ำๆ มีมาตราการทำกลุ่มพูดพ่อแม่ของผู้ติดยา ไม่ตำหนิและทอดทิ้ง เพราะยิ่งทำแบบนั้นมันยิ่งเป็นเพิ่มปัญหาเพราะเขาจะไม่มีทางออกและจมอยู่กับสิ่งเดิมต่อไปเช่นการติดยา สุดท้ายการที่เขาจะเลิกไม่เลิกขึ้นกับจิตใจเขาเอง เราทำได้แค่เพียงยืนเคียงเขาในเวลาที่เขาร้องขอ เหรอต้องการควาช่วยเหลือเขา บทเรียนยาเสพติดที่แพงที่สุดคือการซื้อด้วยชีวิต แต่ถ้าเข้ายังอยู่เราดูแลเขาและทำให้เขาเลิกยาเสพติดใช้ชีวิตอยู่กับเราได้ถือว่ามีคุณค่ามากที่สุดในชีวิตเขา ทำความดีเพื่อแลกกับสิ่งที่เราต้องการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันคำพูดจาก สล็อตฝ
กระบวนการยุติธรรมเฟื้นฟูเยียวเชิงพฤติกรรมของผุ้กระทำผิด บำบัดฟื้นฟูผู้กระทำความเสพยา โดยสภาวะปกติเจ้าหน้าที่ถูกพลักให้เป็นการจัดการปัญหาเด็ดขาด และผู้ติดยาก็คือผู้ร้ายที่จะต้องเลิก หรือตัดขาดจากยาเสพติดให้ได้ แต่ในความจริงๆ แล้วปัญหานี้มันประกอบไปด้วยหลายๆ ส่วนขึ้นมาจากครอบครัว สิ่งแวดล้อม สังคมที่เขาอยู่ ลักษณะการฟึ้นฟูเยียวยาผู้ติดยาเสพติดของคุณบรรจงหรือลุงบู้คือการใช้ความเข้าใจ ใช้สังคม และภาพส่วนต่างๆ เข้ามาเยียวยาและฟื้นฟูผู้ติดยาอย่างเข้าใจ หาสาเหตุของผู้ใช้ยาว่าเพราะอะไร เพื่อสร้างการดูแลให้ตรงจุดและป้องกันกลับมาใช้ยา การใช้ฮาร์มดีดักจชั่น การใช่สารทดแทน ถ้าเป็นเรื่องอื่นก็ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อบรมสั่งสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เยียวยา ฟื้นฟู และป้องกัน
กรณีตัวอย่างของครอบครัวของนางไพเลาะ ที่มีปัญหาลูกติดยาทั้งสองคน หนึ่งคนติดยาบ้า อีกคนติดเฮโรอีน สร้างความทุกข์ทรมานให้คนเป็นแม่เป็นอย่างมาก ตัวเขาได้ขอความช่วยเหลือไปยังประธานชุมชนเพื่อขอคำปรึกษชี้แนะช่องทางในการช่วยเหลือลูกทั้งสองของเธอ ขั้นตอนแรก เธอได้พาเข้าโครงการเพื่อเลิกยาก่อนด้วยการการรับเมทาโดนเพื่อลดการใช้ยา ซึ่งไม่ได้ผลเพราะยังอยู่ในวงวนสังคมเดิมๆ ทำให้กลับไปเสพอีก ก็เลยปรึกษากับเจ้าหน้าที่จากกลุ่มของทางประธาน ว่าทำอย่างไรถึงจะเลิกได้เด็ดขาด สิ่งสำคัญคือตัวผู้เสพเองอยากเลิกจริงๆแล้ว ทางลุงบู้พร้อมอยู่แล้วและมีเครือข่ายเป็น ตำรวจ เจ้าหน้าที่ อนามัย นักจิตวิทยา และอีกหลายหน่วยงาน ได้ช่วยกันหาทางเพื่อรักษา ทั้งนี้ได้ติดต่อไปทางโรงพยาบาลธัญญารักษ์เพื่อส่งตัวไปรักษาให้ห่างจากสภาพแวดล้อมในชุมชน จึงทำให้เลิกได้ ส่วนลูกชายอีกคน เขาอยากบวช และเลิกยาก็เลยประสานไปทางประธานชุมชนอีกครั้งให้ช่วยจัดการให้ และทางตำรวจก็ช่วยรับรองให้บวช จึงทำให้บวชได้ พอได้บวชแล้วก็ได้เลิกยาไปในตัวทันที “สบายใจ และอยากให้เด็กๆ ในชุมชนเลิกให้หมด พอเห็นลูกคนอื่นติดก็อยากให้เข้าโครงการและเลิกให้ได้เหมือนลูกของเรา ตอนนี้ก็ไม่ห่วงอะไร สำคัญเลยเราจะไม่ต้องทอดทิ้งคนท่ีเรารัก ต้องอยุ่เคียงเขาเสมอ เมื่อเขาเห็นว่ายังอยู่กับเขาตลอดไม่ว่าจะแย่แค่ไหน เราก็พร้อมจะยื่นมือช่วยเขาเสมอ และถ้าเข้าพร้อมจะเลิกเขาจะบอกเรา เอง ดีใจที่เขาอยากเลิกมันเหมือนกับการยกภูเขาออกจากอก และลูกเราจะไม่ต้องตายด้วยยาเสพติด” นางไพเลาะกล่างทิ้งท้าย
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับนางไพเลาะนี้ถูกแก้ไขได้ด้วยการบำบัดรักษา “โดยมีส่วนร่วมของชุมชน” เป็นรูปแบบการรักษาในเชิงบูรณาการโดยเฉพาะต่อผู้ใช้ยาเสพติดและติดยาในชุมชนเพื่อให้เกิดการรักษาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและสร้างความเสถียรภาพ จนถึงการติดตามผลการรักษาและการคืนผู้ป่วยสู่สังคม รวมถึงการบำบัดด้วยยาอย่าง ต่อเนื่อง โดยเกี่ยวข้องถึงการประสานงานร่วมกับหลายหน่วยงานที่ให้บริการทางด้านสุขภาพ สังคมและการบริการอื่นๆ จากบุคคลที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เข้าใจถึงความ ต้องการของผู้ป่วย ตลอดจนสนับสนุนครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยอย่างเข็มแข็งในการแก้ปัญหายาเสพติดต่าง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในระยะยาว