"แซนโฎนตา" บุญเดือนสิบ ประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร

"แซนโฎนตา" คืออะไร มีที่มาจากไหน?

แซน หมายถึงการเซ่นไหว้ การบวงสรวง โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา ปู่และย่าหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

คำว่า "โฎน" เป็นภาษาเขมรใช้เรียกยายหรือย่า ส่วนตาใช้เรียนแทนตาและปู่ โดยทั่วไปแล้วมักเขียนว่า "โดนตา" ซึ่งถือว่าผิด เนื่องจากเป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวเขมร ที่ไม่มีตัวอักษร "ด" อยู่ในพยัญชนะ แต่ใช้ตัว "ฏ" สืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน

3 วันสำคัญในช่วงประเพณีแซนโฎนตา

1. วันเบ็ณฑ์ตู๊จ วันขึ้น 14 ค่ำเดือน 10 จะมีทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน และนำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์ที่วัด 2. วันกันซ็อง เป็นวันหลังจากวันเบ็ญฑ์ตู๊จ คือเป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตอนเช้าและเพล ชาวบ้านจะไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่วัด 3. วันแซนโฎนตา หรือวันเบ็ณฑ์ธม (วันสารทใหญ่) คือวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ญาติพี่น้องทุกคนต้องร่วมกันทำบุญที่วัด เป็นหน้าที่ที่ขาดไม่ได้ มีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกครั้งที่บ้าน

สิ่งของที่ต้องเตรียมในพิธีแซนโฎนตา

– กรวยดอกไม้ 5 กรวย หรือที่เรียกว่าขันธ์ 5 ใส่พานพร้อมทั้งเงินทองของมีค่า – เสื้อผ้า ผ้าโสร่ง และผ้าซิ่นไหม ที่ยังไม่ได้ใช้ 1 สำรับ พร้อมแป้งหอม น้ำหอม น้ำอบ หวี กระจก – สำรับกับข้าว 1 สำรับ เป็ดต้ม 1 ตัว ไก่ต้ม 1 ตัว หรืออาจมีหัวหมู แล้วแต่ลูกหลานแต่ละบ้านจะจัดจะหามา – ขนมต่าง ๆ ได้แก่ ขนมข้าวต้มห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ขนมข้าวต้มหมู ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ กันเตรือม ขนมกันตางราง ขนมนางเล็ด ขนมไข่หงส์ ขนมข้าวเกรียบ ขนมข้าวพอง – ผลไม้ต่าง ๆ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ มะพร้าวอ่อนและกล้วยน้ำว้าสุก – น้ำดื่ม เหล้า ตามแต่เห็นสมควร เทียน 2 เล่ม จุดไว้อย่าให้ดับกระถางธูปและธูป ไว้สำหรับจุดเวลาเซ่น และจะใช้ปักไว้ตามจานอาหารด้วย

ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีดั้งเดิมที่ประชาชนชาวไทยเชื้อสายเขมรได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นการทำบุญให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ให้ได้รับกุศลผลบุญ ที่ลูกหลานได้อุทิศให้ซึ่งตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี หยุดภารกิจหน้าที่การงานทั้งหมด และนัดหมายไปรวมกัน ณ บ้านที่เป็นศูนย์กลางของครอบครัวส่วนใหญ่จะเป็นบ้านของผู้ที่อาวุโสที่สุดของครอบครัว พร้อมกับเตรียมเครื่องไหว้มาทำพิธีเซ่นหรือแซน เช่นหัวหมู ไก่ เนื้อ ปลา ข้าวสาร ข้าวสวย ผลไม้ ขนมหวาน ขนมกระยาสารท ข้าวต้ม หมูและข้าวต้มหางยาว เพื่อไหว้บรรพบุรุษของตนเองที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีแซนโฎนตา นอกจากเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นกุศโลบายของบรรพบุรุษ ที่มีจุดหมายให้ลูกหลาน ได้แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษผู้มีพระคุณ และมีโอกาสได้พบปะเครือญาติ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้พึ่งพาอาศัยช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งยังมีความเชื่อว่า วันแซนโฏนตานี้ ถ้าลูกหลานคนใดไม่ได้ไม่ไปร่วมแซนโฎนตา โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วอาจไม่พอใจ ส่งผลให้การทำมาหากินประกอบอาชีพไม่ราบรื่น ไม่ก้าวหน้า จิตใจเป็นกังวลไม่เป็นสุข

แซนโฎนตาจัดเป็นประเพณีวัฒนธรรมประจำปีของคนไทยเชื้อสายเขมร ประเพณีและงานประจำปีของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรถือได้ว่าเป็นกลุ่มชาติพันธ์เดียวกัน ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณีนั้นคนในท้องถิ่นจึงมีความเชื่อและปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน การประกอบพิธีกรรมประเพณี ในชุมชนนั้นจึงมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ประเพณีส่วนใหญ่ของคนในชุมชนจึงมีความเชื่อ มุขปาฐะ สอดแทรกไปในการประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ ประเพณี พิธีกรรมโดยส่วนใหญ่ไม่พ้นความเชื่อในเรื่องของการบูชา นับถือผีทั้งนี้ในประเพณีพิธีกรรมของคนในชุมชนจึงมีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา และการนับถือผี ซึ่งเป็นวัฒนธรรมความเชื่อแบบเขมรที่คนในชุมชนยังยึดถือและปฏิบัติตามจนถึงปัจจุบัน

ขอบคุณข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)คำพูดจาก เว็บสล็อตแมชชีน

 "แซนโฎนตา" บุญเดือนสิบ ประเพณีเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร

By admin

Related Post