ภายหลังกำแพงสูงของเรือนจำชางอี ประเทศสิงคโปร์ เรือนจำเก่าที่ยังคงใช้ให้การศึกษาผู้ต้องโทษระหว่างถูกคุมขัง ถูกเนรมิตเป็นนิทรรศการให้ผู้ร่วมงานเล่นเกมและร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เห็นเส้นทางเดินของผู้พ้นโทษ ทั้งชีวิตในเรือนจำ และหลังก้าวพ้นกำแพง ซึ่งสิ่งที่ต้องการมากที่สุด คือ “โอกาสครั้งที่สอง” จากสังคม
ผู้เข้าร่วมหลากหลาย ทั้งผู้พ้นโทษ คนที่ทำงานเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้พ้นโทษ สปอนเซอร์ที่สนับสนุนโครงการ ไปจนถึงคนทั่วไป ทุกคนวิ่งฝ่าฝนที่ตกหนักเป็นระยะไปด้วยกันในระยะทาง 6-10 กิโลเมตร
"ชาดา"แจงครอบครองปืน เพราะลวดลายสวยงาม สะสมพระเครื่องไม่เกี่ยวศาสนา!
ออกหมายจับเพิ่มอีก 3 คน เอี่ยวขายปืนให้เด็ก 14 ปี ก่อเหตุยิงพารากอน!
สร้างบรรยากาศของการยอมรับซึ่งกันและกันไม่ว่าเบื้องหลังแต่ละคนจะมาจากไหน และการจัดงานเพียงครั้งเดียวทำให้สิงคโปร์ระดมทุนได้กว่า 305,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือกว่า 8 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท = 26.98 เหรียญฯ) นำไปช่วยเหลือผู้พ้นโทษและครอบครัว
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วที่สิงคโปร์จัดกิจกรรม Yellow Ribbon Run ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะถูกกระจายไปยังเครือข่าย CARE (Community Action for the Rehabilitation of Ex-Offenders) ที่เป็นการร่วมมือกันของเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน 10 หน่วยงาน ที่ช่วยเหลือดูแลผู้ต้องขังและผู้พ้นโทษในหลายมิติ ทั้งการบำบัด อบรมทักษะ สนับสนุนการประกอบอาชีพหลังพ้นโทษ รวมถึงดูแลครอบครัวผู้ต้องขัง
ทั้งหมดนี้เพื่อลดอัตราการกระทำผิดซ้ำ ซึ่งข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์สิงคโปร์ (Singapore Prison Service) อัตราการกระทำผิดซ้ำภายใน 2 ปีของผู้พ้นโทษที่ได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ.2562 ลดลงเหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ จาก 44 เปอร์เซ็นต์ของเมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ไทยมากกว่านิดหน่อย คืออยู่ที่ 24.68 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบปีเดียวกัน
ชลธิช ชื่นอุระ ผอ.สำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) มองว่ามีหลายเรื่องที่ไทยเอาอย่างสิงคโปร์ได้ ในการช่วยผู้พ้นโทษไม่ให้กลับไปทำผิดซ้ำ ที่สำคัญคือการสนับสนุนจากภาครัฐ เพราะสิ่งที่คล้ายกันคือมีหน่วยงานต่างๆ ที่สนับสนุนผู้พ้นโทษมากมาย แต่การสนับสนุนจากภาครัฐยังจำกัด ขณะที่สิงคโปร์มีความพยายามของเครือข่ายที่ภาครัฐช่วยจัดตั้งขึ้น โดยมีแผนเงินทุนสนับสนุน หรือมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ที่บริจาคเงินให้องค์กรที่สนับสนุนผู้พ้นโทษ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2.5 เท่าของเงินที่บริจาคไป หากบริจาคถึงจำนวนที่กำหนด ทำให้ดึงดูดภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน เอื้อให้องค์กรต่างๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ประสบปัญหาด้านการเงิน
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างเครือข่ายผู้พ้นโทษ สร้างคนที่ไม่กลับไปทำผิดซ้ำ ให้กลายเป็น “ต้นแบบ” ของผู้พ้นโทษด้วยกัน โดยมีโปรแกรมช่วยพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ให้ เช่น การพูดในที่สาธารณะ การเชื่อมั่นในตัวเอง ทำให้ผู้พ้นโทษกลุ่มนี้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆคำพูดจาก สล็อต777
“ทุกวันนี้เรามีคนพ้นจากเรือนจำปีละกว่า 2 แสนคนทั่วประเทศ ทุก 5 ปีเรามีคน 1 ล้านคนที่ออกจากเรือนจำ คนเหล่านี้คือประชากรที่มีต้นทุนติดลบเทียบกับประชากรกลุ่มอื่น หากเราไม่มีกลไกในการดูแลเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ไม่ดูแลประชากรที่ต้นทุนติดลบ ทำให้เขาอาจจะไปก่อความผิดหรือกลับไปใช้วิธีการเดิมในการหาเงินมาเยียวยาตัวเอง สุดท้ายแล้วผลกระทบก็จะกลับคืนสู่สังคม”
มุมมองของ ผอ.สำนักส่งเสริมข้อกำหนดกรุงเทพฯ TIJ การวางกลไกช่วยเหลือผู้พ้นโทษไม่ให้ทำผิดซ้ำอย่างเป็นระบบ เป็นสิ่งที่ไม่ควรเพิกเฉย โดยเฉพาะเมื่อไทยมีผู้พ้นโทษในแต่ละปีหลักแสนคน หากไม่ได้รับการสนับสนุนจนนำไปสู่การก่อความผิดซ้ำ สุดท้ายสังคมก็จะกลายเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ