องค์กรวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO)รายงานว่า ยานอาทิตยา-แอลหนึ่ง (Aditya-L1) ได้เข้าไปอยู่ในวงโคจรรัศมี (Halo Orbit) รอบจุด L1 หรือจุดลากรองจ์ 1(L1 Lagrangian Point)แล้ว เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (6 ม.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น (17.30 น. เวลาไทย) ซึ่งเป็นจุดที่ยานจะอยู่ในอวกาศ เพื่อทำภารกิจสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ต่อไป
ยานอาทิตยา-แอล 1 เป็นภารกิจสำรวจดวงอาทิตย์ครั้งแรกของอินเดีย ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ ก.ย. ปีที่แล้ว ไม่กี่วันหลังจากสร้างประวัติศาสตร์เป็นชาติแรกที่ส่งยานอวกาศลงจอดใกล้ขั้วใต้ของดวงจันทร์คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ยานสำรวจนาซาเตรียมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในประวัติศาสตร์
เห็นวงแหวนชัดกว่าเดิม! “เจมส์ เว็บบ์” เปิดภาพใหม่ “ดาวยูเรนัส”
นักวิทย์คุยกับวาฬหลังค่อมสำเร็จ วางรากฐานการสนทนากับมนุษย์ต่างดาว
ยานอาทิตยา-แอล 1 ใช้เวลาเดินทางนาน 4 เดือน ในการมาถึงจุดลากรองจ์ ซึ่งเป็นจุดที่แรงดึงดูดระหว่างโลกและดวงอาทิตย์สมดุลกัน ทำให้ยานอวกาศสามารถโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ และอยู่ในตำแหน่งที่มั่นคงที่จะทำภารกิจสังเกตการณ์ โดยจุดลากรานจ์นี้อยู่ห่างจากโลก 1.5 ล้านกิโลเมตร
โดยภารกิจหลักของยานอาทิตยา-แอล 1 คือการศึกษาชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ พายุสุริยะ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณของโลก โดยมีระยะเวลาปฏิบัติภารกิจ 5 ปี
ด้าน นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย โพสต์ข้อความยินดีกับความสำเร็จครั้งนี้ว่า อินเดียได้สร้างหมุดหมายที่สำคัญอีกครั้ง ยานสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ลำแรกของอินเดีย อาทิตยา-แอล 1 ไปถึงจุดหมายแล้ว เป็นสิ่งที่พิสูจน์ถึงการอุทิศตนอย่างไม่ลดละของนักวิทยาศาสตร์อินเดียที่จะทำหนึ่งในภารกิจอวกาศที่ละเอียดซับซ้อนที่สุดให้เป็นจริงได้ ตนและชาวอินเดียทั้งประเทศขอชื่นชมความสำเร็จนี้ อินเดียจะเดินหน้าไล่ตามขอบเขตใหม่ๆ ของวิทยาศาสตร์ต่อไปเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ