นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟท. ยังไม่ได้โอนสิทธิบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้กับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (กลุ่มซีพี) ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) เนื่องจากต้องรอให้แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ และชำระค่าสิทธิโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ประมาณ 10,671 ล้านบาทให้ รฟท. ก่อน ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทฯ เข้ามาเป็นผู้เดินรถรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และเก็บรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ส่งให้ รฟท. ตามบันทึกความเข้าใจ(MOU) ระหว่าง รฟท. และบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอขอเยียวยาไว้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า เดิมบริษัทฯ ต้องชำระค่าสิทธิบริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ทั้งหมดประมาณ 10,671 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ต.ค. 64 แต่บริษัทฯ ได้ยื่นข้อเสนอขอผ่อนผันการชำระเงินค่าสิทธิบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และปรับรูปแบบการชำระจากเดิมต้องชำระทั้งหมด เป็นแบ่งจ่ายรายงวด ซึ่งหากจะจ่ายตามนี้ได้ก็ต้องให้มีการแก้ไขสัญญาก่อน อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้แม้บริษัทฯ จะยังไม่ได้ชำระค่าสิทธิฯ ให้กับ รฟท. แต่บริษัทฯ ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยของค่าสิทธิฯ 10,671 ล้านบาท ที่ รฟท.ต้องได้รับทุกเดือนให้กับ รฟท.ด้วย ซึ่งบริษัทฯ ก็จ่ายให้อยู่
นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ขาดทุนอยู่เดือนละประมาณ 70 ล้านบาท ซึ่งเอกชนก็ต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ไป เช่น ได้รายได้ 100 บาท แต่มีต้นทุน 170 บาท ทางเอกชนก็ต้องจ่ายส่วนที่เกินไป 70 บาทเอง แต่หากมีกำไรก็ต้องส่งให้ รฟท. อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้โดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อยู่ที่เดือนละประมาณ 1.87 ล้านคน ขณะที่ช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ปี 62 ผู้โดยสารอยู่ที่เดือนละประมาณ 2.5 ล้านคน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าในช่วงที่ยังไม่ได้โอนสิทธิรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้เอกชน ได้รับเสียงร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับงานบริการค่อนข้างมาก อาทิ แอร์ไม่เย็น ผู้โดยสารหนาแน่น และรอรถไฟฟ้านาน ซึ่งได้มอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องของ รฟท. ลงไปตรวจสอบ และหารือกับทางบริษัทฯ เพื่อให้เร่งปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ
รายงานข่าวแจ้งว่า รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดให้บริการมาแล้วเป็นปีที่ 13 ให้บริการเดินรถตั้งแต่เวลา 05.30-24.00 น. วันจันทร์-ศุกร์ ให้บริการ 4,729 เที่ยวต่อเดือน และวันเสาร์-อาทิตย์ ให้บริการ 1,564 เที่ยวต่อเดือน โดยสถานีพญาไท มีผู้ใช้บริการสูงสุด 4.12 แสนคนต่อเดือน รองลงมาคือ สถานีมักกะสัน 3.47 แสนคนต่อเดือน, สถานีสุวรรณภูมิ 3.08 แสนคนต่อเดือน, สถานีลาดกระบัง 2.82 แสนคนต่อเดือน, สถานีรามคำแหง 1.81 แสนคนต่อเดือน, สถานีหัวหมาก 1.47 แสนคนต่อเดือน, สถานีราชปรารภ 1.08 แสนคนต่อเดือน และสถานีบ้านทับช้าง 9.13 หมื่นคนต่อเดือน
ทั้งนี้ เมื่อปี 63 ของการเปิดให้บริการ ถือเป็นปีแรกที่ผลการดำเนินงานไม่ขาดทุน จากปกติจะขาดทุนประมาณปีละ 100-200 ล้านบาท จนกระทั่งปลายปี 64 บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ได้เข้ามาทำหน้าที่เดินรถแทนบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ที่ไปเดินรถไฟฟ้าสายสีแดง และในปี 65 รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ขาดทุนเดือนละประมาณ 70 ล้านบาท หรือประมาณ 840 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณผู้โดยสารยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด-19.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง